วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Adjective, คำคุณศัพท์

คำคุณศัพท์ (Adjective) หมายถึง คำที่นำมาขยายคำนาม (Noun) หรือ คำสรรพนาม (Pronoun) ให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การขยายอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มความเด่นชัดทั้งในด้านคุณภาพ ชนิด ปริมาณ จำนวน ของคำนามหรือคำสรรพนามนั้น ๆ เช่น

He is good boy.

เขาเป็นเด็กชายที่ดี

คำว่า “good” เป็น adjective ขยายคำนาม “boy” ให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

There are ten books on the table.

มีหนังสือจำนวนสิบเล่มอยู่บนโต๊ะ

คำว่า “ten” เป็นคำ adjective บอกปริมาณคำนาม “book” ให้รู้จำนวนของคำนามนี้ว่ามีเท่าไร

This is a large house.

คำว่า “large” เป็นคำ adjective บอกลักษณะคำนาม “house” ว่าใหญ่โตมาก

ทีมาของ Adjective

คำ adjective มีที่มาอยู่ 2 แหล่ง คือ

1. Adjective ที่มีลักษณะมาจากการเกิดเป็น adjective โดยตรง

Adjective ที่มีลักษณะมาจากการเกิดเป็น adjective โดยตรง เรียกว่า “Descriptive adjective” เป็น adjective หรือ คุณศัพท์ที่บรรยายหรือบอกลักษณะต่าง ๆ ได้แก่

1.1. แสดงจำนวน เช่น one, two, three, four, five, six, seven etc.

1.2. แสดงลำดับที่ เช่น the first, the second, the third, the fourth, etc.

1.3. แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น his, her, my, your, its, our, their etc.

1.4. แสดงขนาด, รูปร่าง, น้ำหนัก, ส่วนสูง เช่น large, tall, fat, thin, small etc.

1.5. แสดงคุณภาพ เช่น good, bad, lovely, nice etc.

1.6. บอกสี เนื้อวัตถุ เชื้อชาติ ภาษา เช่น white, silken, Thai, English, German etc.

2. Adjective ทีมีลักษณะและรูปร่างมาจากคำอื่น ๆ

Adjective ที่มีลักษณะหรือรูปร่างมาจากคำอื่น ๆ ได้แก่
Adjective ที่มาจากคำนาม (Noun) ในรูป Command Noun เช่น

a school boy (school เป็นคำนาม แต่ในที่นี้ใช้เป็น adjective ขยาย boy ที่เป็นคำนามแท้ ๆ)

a music show (music เป็นคำนาม แต่ใช้ขยาย show ซึ่งเป็นคำนาม จึงใช้เป็น adjective)

a college student (college ซึ่งเป็นคำนาม แต่ใช้ขยาย student ที่เป็นคำนามแท้ ๆ ดังนั้น college จึงเป็น adjective)

2.2 Adjective ที่มาจากคำกริยาที่เป็น Non-finite Verb ประเภท Participle ในลักษณะต่าง ๆ คือ

2.2.1 Present Participle ใช้เป็น Adjective ในรูป V.ing ขยายคำนามเพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามนั้นเป็นผู้กระทำ เช่น

a crying boy (crying มีรูปเป็น Present Participle ขยาย boy ฉะนั้นจึงใช้คำว่า “crying” เป็น adjective รูปหนึ่ง)

a singing lady (singing มีรูปเป็น Present Participle ขยาย lady ซึ่งเป็นคำนามที่บอกให้รู้ว่าเป็นผู้กระทำอาการเอง ดังนั้น singing จึงใช้เป็น adjective)

a reading lamp (reading มีรูปเป็น Present Participle ขยาย lamp ซึ่งเป็นคำนามที่บอกให้รู้ว่าเป็นผู้กระทำการเอง ดังนั้น reading จึงใช้เป็น adjective)

2.2.2 Past Participle ใช้เป็น adjective ในรูป Verb ช่อง 3 หรือ Verb เติม ed ขยายคำนามเพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น

a frighted cat (frighted เป็น Past Participle ขยาย cat ซึ่งเป็นคำนามเพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ ฉะนั้น “frighted” จึงใช้เป็น adjective)

a punished student (punished เป็น Past Participle ขยาย “student” ซึ่งเป็นคำนามเพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามนี้เป็นผู้ถูกกระทำ ฉะนั้น “punished” จึงใช้เป็น adjective)

a repaired radio (repaired เป็น Past Participle ขยาย “radio” ซึ่งเป็นคำนาม เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามนี้เป็นผู้ถูกกระทำ ฉะนั้น “repaired” จึงใช้เป็น adjective)

a broken chair (broken เป็น Past Participle ขยาย “chair” ซึ่งเป็นคำนามเพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามนี้เป็นผู้ถูกกระทำ ฉะนั้น “broken” จึงใช้เป็น adjective)

2.2.3 Perfect Participle ใช้เป็น adjective ในรูป Perfect Participle Phrase ที่เป็นกลุ่มคำที่จะใช้เพื่อเน้นความยาวนานหรือช่วงของเวลาที่มากกว่า Present Participle หรือ Past Participle มี 2 รูปแบบ คือ

รูปที่เป็นผู้กระทำ เมื่อขยายคำนามหรือคำสรรพนาม จะบอกให้รู้ว่าคำนามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ จะใช้รูป having + Verb ช่องที่ 3 เช่น

Having drunk six cans of beer, Wichai handed his car-key to his friend.

หลังจากดื่มเบียร์ไปหกกระป๋อง วิชัยก็ส่งกุญแจรถให้เพื่อนเขาขับแทน

(เรา ใช้โครงสร้าง Perfect Participle ก็เพราะว่าเราต้องการบอกคำนามหรือคำสรรพนามให้เห็นการกระทำที่ยาวนาน และมีการเน้นการกระทำอย่างต่อเนื่อง ในที่นี้จะเห็นว่าถึงแม้วิชัยเลิกดื่มเบียร์แล้ว เพราะเขากำลังจะกลับบ้าน แต่อาการมึนเมาก็ยังอยู่กับเขา อาจนานไปถึงตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นหรือต่อไปอีกก็ได้ เป็นการเน้นเรื่องของเวลาอย่างเห็นได้ชัด และมีผลอันยาวนานมากกว่า Present Participle หรือ Past Participle นั่นเอง)

รูปที่เป็นผู้ถูกกระทำ เมื่อขยายนามจะบอกให้รู้ว่าคำนามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ จะใช้รูป Having been exhausted for a long time, the tourists went to sleep immediately.

(เรา ใช้โครงสร้าง Perfect Participle ก็เพราะว่า เราต้องการบอกคำนามหรือคำสรรพนามให้เห็นการถูกกระทำที่ยาวนานและมีความต่อ เนื่อง ในที่นี้จะเห็นว่านักท่องเที่ยวถูกทำให้หมดแรงเป็นเวลานาน เพราะได้ไปท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ มาทั้งวัน พอกลับบ้านเข้าที่พักก็เตรียมเข้านอนทันที และถึงอย่างไรก็ตาม อาการเหน็ดเหนื่อยก็ยังมีมาอีกยาวนาน ซึ่งถ้าใช้ในโครงสร้าง Participle อื่น ไม่ว่าจะเป็น Present Participle หรือ Past Participle ก็จะไม่ทราบว่าความเหน็ดเหนื่อยจากการท่องเที่ยวมีผลยาวนานพอสมควรซึ่งผิดไป จากความเป็นจริง)

2.3 Adjective ที่มาจากการรวมคำต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อาจเป็น adjective รวมกับ Noun, adverb รวมกับ Past Participle หรือ คำนามที่เติม ed (ใช้เป็น Past Participle) เช่น

a four-door car. We have a four-door car. เรามีรถยนต์สี่ประตู

a two-storey house This is a two-storey house. นี่เป็นบ้านสองชั้น

a fifty-dollar note This is a fifty-dollar note. นี่เป็นธนบัตร 50 ดอลล่าร์

a well-dressed lady She is a well-dressed lady. หล่อนเป็นผู้หญิงที่แต่งตัวดี

a carefully-written report This is a carefully-written report. รายงานที่เขียนอย่างรอบคอบ

an absent-minded man He is an absent-minded man. เขาเป็นผู้ชายขี้ลืม

ชนิดของ Adjective
1. Adjective ที่แสดงคุณภาพ (Adjective of Quality) คือ คำคุณศัพท์ที่บอกลักษณะ คุณภาพ ของคำนามหรือคำสรรพนาม เช่น good, bad, white, blue, German, Indian เช่น

Somruck is a good boxer. สมรักษ์เป็นนักชกที่ดี

The sky is blue. ท้องฟ้ามีสีน้ำเงิน

He is a German sailor. เขาเป็นกะลาสีชาวเยอรมัน

2. Adjective ที่แสดงปริมาณ (Adjective of Quantity) คือ คำคุณศัพท์ที่แสดงปริมาณหรือจำนวนของคำนามหรือคำสรรพนามที่มันขยาย เช่น little, much, enough, no เช่น

She drinks a little milk. เธอดื่มนมเล็กน้อย

We don’t have much time. เราไม่มีเวลามาก

I have enough money to spend. เรามีเงินเพียงพอที่จะจ่าย

It has no meaning. มันไม่มีความหมาย

3. Adjective ที่บอกหรือแสดงลักษณะชี้เฉพาะ ว่าคนไหน สิ่งไหน หรือ อันไหน (Demonstrative Adjective) ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม หรือคำสรรพนามที่กล่าวถึง เช่น this, that, those, these เช่น

This boy is taller than that. เด็กผู้ชายคนนี้สูงกว่าคนนั้น

These students like to study English. เด็กเหล่านี้ชอบเรียนภาษาอังกฤษ

Those pictures are mine. รูปภาพเหล่านั้น เป็นของฉัน

4. Adjective ที่บอกหรือแสดงอาการแยกจากกลุ่มเพื่อบอกลักษณะของคำนามหรือคำสรรพนามนั้น ๆ เฉพาะ (Distributive Adjective) ใช้เป็นคำคุณศัพท์เพื่อกล่าวถึงคน ๆ สิ่งของสิ่งเดียว หรือกลุ่มเดียวที่แยกจากสิ่งของทั้งหลายสิ่ง เช่น each, every, neither เช่น

Each student wants to pass the exam. นักเรียนแต่ละคนต้องการสอบผ่าน

Every boy likes to play football. เด็กผู้ชายทุกคนชอบเล่นฟุตบอล

Either side may win the race. แต่ละฝ่ายอาจชนะการแข่งขัน

Neither charge has been proved. ไม่มีข้อกล่าวหาใด ๆ ได้รับการพิสูจน์

5. Adjective ที่ใช้ขยายหรือประกอบคำนามหรือคำสรรพนามเพื่อใช้เป็นคำนาม (Interrogative Adjective) ใช้สร้างประโยคเพื่อเป็นคำถามและขยายคำนาม หรือคำสรรพนามอีกด้วย เช่น what, which, whose เช่น

What kind of book is it? นี่เป็นหนังสือประเภทไหน

Which way should we follow? ทางไหนที่เราควรเลือกทำตาม

Whose house is that? นั่นเป็นบ้านของใคร

การสร้างคำคุณศัพท์

1. Adjective ที่สร้างมาจากคำนิยาม โดยการเติม ful, less, some, ish, y, en, em, ly, ous, able, ible, like, ic. al เช่น

Noun Adjective

harm harmful

beauty beautiful

trouble troublesome

quarrel quarrelsome

north northern

day daily

glory glorious

duty dutiable, dutiful

sense sensible

talent talented

2. Adjective ที่สร้างมาจากคำกริยา (Verb)

Verb Adjective

talk talkative

prevent preventive

destroy destructive

close close

run running

3. Adjective ที่สร้างมาจากคำคุณศัพท์บางคำ

Adjective Adjective

red reddish

comic comical

glad gladsome

good goodly

tasty tasteful

ตำแหน่งของคำคุณศัพท์ (Position of Adjective)

1. อยู่หน้าคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อทำหน้าที่ขยายคำนามหรือคำสรรพนามนั้น เช่น

a nice boy เด็กดี

a poor man ชายที่น่าสงสาร

a beautiful girl เด็กผู้หญิงที่สวย

a shot eye สายตาสั้น

He is a rich man. เขาเป็นชายที่ร่ำรวย

The warm sun melted the deep snow. ดวงอาทิตย์ที่ร้อนละลายหิมะที่หนา

The new secretary doesn’t like me. เลขานุการคนใหม่ไม่ชอบฉัน

A long road leads to the old house. ถนนที่ยาวนำพาไปสู่บ้านหลังเก่า

A brave soldier was awarded a medal. ทหารที่กล้าหาญได้รับเหรียญกล้าหาญ

2. อยู่หลัง Helping Verb (มักจะเป็น V. to be เป็นส่วนใหญ่) และ Linking Verb (กริยาเชื่อม) ได้แก่ taste, get, become, remain, grow, feel, look, appear, seem, smell, turn, keep, sound, etc.

The boy feels happy. เด็กผู้ชายรู้สึกมีความสุข

He looks pleased. ดูเขามีความสุข

The orange tastes sour. ส้มมีรสเปรี้ยว

She keeps the roses fresh. เธอเก็บกุหลาบไว้ให้สด

That dress is new. ชุดนั้นใหม่

It doesn’t smell good. มันกลิ่นไม่ดี

It is getting dark. มันกำลังมือ

He becomes famous. เขามีชื่อเสียง

ข้อมูลเพิ่มเติม
- http://www.grammarlearn.com/adjective1.htm

ไม่มีความคิดเห็น: